Home การจัดเก็บสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานความปลอดภัย

การจัดเก็บสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานความปลอดภัย

by Travis King
68 views
การจัดเก็บสารเคมี

การจัดเก็บสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานความปลอดภัย ต้องทำอย่างไร

ปัจจุบันมีการใช้งานสารเคมีในทางอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลายทั้งสารเคมีอันตรายและไม่อันตรายซึ่งในการจัดเก็บต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีอันตรายนั้น

1. สารเคมีอันตรายคืออะไร

“สารเคมีอันตราย” หมายความว่า สารเคมีที่สามารถจำแนกความเป็นอันตรายได้ โดยอ้างอิงตาม Globally

Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) (อ้างอิงตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565)

2. GHS คืออะไร

Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS) เป็นระบบการจำแนก

ประเภท การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS ) ของสารเคมีและเคมีภัณฑ์ ที่องค์การสหประชาชาติพัฒนาขึ้น เพื่อให้ใช้สื่อสารและมีความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสารเคมีนั้นๆ ในทิศทางเดียวกัน

 

บริเวณที่จัดเก็บสารเคมี

 

3. การจำแนกประเภทของสารเคมี ตามระบบ GHS

การจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีตามระบบ GHS แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

3.1.ความเป็นอันตรายด้านกายภาพ 16 ประเภทดังนี้

  • วัตถุระเบิด (Explosives)
  • ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases)
  • สารละอองลอยไวไฟ (Flammable aerosols)
  • แก๊สออกซิไดซ์  (Oxidizing Gases)
  • แก๊สภายใต้ความดัน (Gases under pressure)
  • ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
  • ของแข็งไวไฟ (Flammable solids)
  • สารเคมีที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-reactive substances and mixtures)
  • ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solids)
  • ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solids)
  • สารเคมีที่เกิดความร้อนได้เอง (Self-heating substances and mixtures)
  • สารเคมีที่สัมผัสน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ (Substances and mixtures, which in contact with water, emit flammable gases)
  • ของเหลวออกซิไดซ์ (Oxidizing liquids)
  • ของแข็งออกซิไดซ์ (Oxidizing solids)
  • สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ (Organic peroxides)
  • สารที่กัดกร่อนโลหะ (Corrosive to metals)

3.2.ความเป็นอันตรายด้านสุขภาพ 10 ประเภทดังนี้

  • ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
  • การกัดกร่อน/ระคายเคืองผิวหนัง (Skin corrosion/irritation)
  • การทำลายดวงตาอย่างรุนแรง/การระคายเคืองต่อดวงตา (Serious eye damage/eye irritation)
  • การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง (Respiratory or skin sensitization)
  • การกลายพันของเซลล์สืบพันธ์ (Germ cell mutagenicity)
  • ความสามารถในการก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
  • ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxicity)
  • ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย-การได้รับสัมผัสครั้งเดียว (Specific target organ toxicity-Single exposure)
  • ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมาย-การได้รับสัมผัสซ้ำ (Specific target organ toxicity – Repeated exposure)
  • อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนล่างหรือทำให้ปอดอักเสบจากการสำลัก (Aspiration hazardous)

 

ตู้เก็บสารเคมี

 

3.3.ความเป็นอันตรายด้านสิ่งแวดล้อม 2 ประเภทดังนี้

  • ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ (Hazardous to the aquatic environment)
  • ความเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน (Hazardous to the ozone layer)

จากความเป็นอันตรายทั้ง 3 ด้านที่กล่าวมา จะมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย 9 รูปด้วยกัน ซึ่งสามารถ

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก website ทั่วไป

4. การจัดเก็บสารเคมีตามมาตรการความปลอดภัย

การจัดเก็บสารเคมีตามมาตรการด้านความปลอดภัยในการจัดเก็บ มีกฎกมายหลายฉบับที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งแต่ละฉบับมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อความปลอดภัย ในที่นี้ เราจะพูดถึงการจัดเก็บตาม ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ที่เพิ่งประกาศมาเมื่อ 25 เมษายน 2565 นี้เอง โดยตามประกาศฉบับนี้ สามารถแบ่งการจัดเก็บได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

Chemical

 

4.1.การจัดเก็บในอาคาร

  • มีป้ายชี้บ่งว่าเป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายแสดงให้เห็นชัดเจน
  • จัดทำแผนผังแสดงการจัดเก็บสารเคมีอันตรายที่เป็นปัจจุบัน โดยจัดเก็บในสถานที่เข้าถึงได้ง่ายและ พร้อมใช้งาน
  • ภาชนะบรรจุต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสารเคมีอันตราย และอยู่ในสถาพเรียบร้อย ไม่ชำรุด เสียหาย
  • จัดเก็บสารเคมีอันตรายตามคุณสมบัติความเป็นอันตราย โดยต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอันตราย ประเภทอื่น ที่จัดเก็บอยู่แล้ว หรือจัดเก็บตามที่ระบุในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี
  • การจัดเรียงภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายซึ่งมีความจุไม่เกิน 450 ลิตร มวลสุทธิสูงสุดไม่เกิน 400 กิโลกรัม โดยต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หรือหากวางบนพาเลทต้องสูงไม่เกิน 3 ชั้น ยกเว้นจัดเก็บบนชั้นวางที่มีความแข็งแรงเพียงพอ
  • ต้องมีมาตรการป้องกันหรือควบคุมไอระเหยสารเคมีอันตรายในพื้นที่การจัดเก็บ
  • ต้องมีมาตรการป้องกันและระงับการหก รั่วไหล 
  • ต้องสามารถนำอุปกรณ์เข้าไประงับเหตุได้โดยสะดวกและปลอดภัย ไม่มีสิ่งกีดขวาง
  • ต้องมีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เหมาะสมกับชนิด และเพียงพอกับปริมาณสารเคมีอันตรายที่จัดเก็บ

 

การจัดเก็บสารเคมีนอกอาคาร

 

4.2.การจัดเก็บนอกอาคาร

  • มีป้ายชี้บ่งว่าเป็นพื้นที่จัดเก็บสารเคมีอันตรายแสดงให้เห็นชัดเจน
  • จัดเก็บสารเคมีอันตรายในบริเวณที่เหมาะสมและจัดเก็บไว้เป็นการเฉพาะ ไม่เป็นที่จอดยานพาหนะหรือเส้นทางการจราจร
  • ต้องเป็นพื้นที่แข็งแรง ไม่ลื่น ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอันตรายที่จัดเก็บ และไม่มีรอยแตกร้าว
  • จัดเก็บสารเคมีอันตรายตามคุณสมบัติความเป็นอันตราย โดยต้องไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีอันตราย ประเภทอื่นๆ ที่จัดเก็บอยู่แล้ว หรือตามคำแนะนำในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี
  • การจัดเรียงภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายซึ่งมีความจุไม่เกิน 450 ลิตร มวลสุทธิสูงสุดไม่เกิน 400 กิโลกรัม โดยต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หรือหากวางบนพาเลทต้องสูงไม่เกิน 3 ชั้น ยกเว้นจัดเก็บบนชั้นวางที่มีความแข็งแรงเพียงพอ
  • การจัดเก็บนอกอาคารต้องคำนึงถึงผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความร้อน แสงแดด และความสั่นสะเทือน ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่เป็นอันตราย
  • มีมาตรการในการป้องกันและระงับการหก รั่วไหล ของสารเคมีอันตราย
  • มีระบบกักเก็บสารเคมีอันตรายที่หก รั่วไหล ไม่ให้ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมและต้องป้องกันไม่ให้ไหลลงสู่ทางระบายสาธารณะ
  • ต้องมีมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่เหมาะสมกับชนิด และเพียงพอกับปริมาณสารเคมี อันตรายที่จัดเก็บ

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องของการจัดเก็บสารเคมีอันตรายตามสถานที่จัดเก็บนอกจากจากสถานที่ในการจัดเก็บแล้วสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการจัดเก็บสารเคมีตามประเภทของสารเคมีซึ่งสารเคมีแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันการจัดเก็บจึงมีข้อจำกัดเช่นสารไวไฟห้ามจัดเก็บร่วมกับสารออกซิไดซ์หรือสารเคมีบางประเภทสามารถจัดเก็บร่วมกันได้แต่ต้องมีเงื่อนไงซึ่งการจัดเก็บตามประเภทของสารเคมีสามารถดูได้จากตารางการจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายในคู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตรายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

สรุป

การจัดเก็บสารเคมีอันตราย นอกจากสถานที่ในการจัดเก็บแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเข้ากันของสารเคมีแต่ละประเภทด้วย เพราะหากมีการจัดเก็บสารเคมีทุกชนิดเข้าด้วยกัน โดยไม่ดูคุณสมบัติของสารเคมีอันตรายนั้นๆ อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ จึงต้องมีการจัดเก็บให้ถูกต้องตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์รวมความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถอ่านได้ฟรีและมีการอัปเดตใหม่ ทุกๆวัน!

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by  Staraokhospitality