Home ทำไมถึงต้อง อบรม คปอ มีความจำเป็นหรือไม่บทลงโทษของการไม่อบรมมีอะไรบ้าง

ทำไมถึงต้อง อบรม คปอ มีความจำเป็นหรือไม่บทลงโทษของการไม่อบรมมีอะไรบ้าง

by Travis King
170 views
ทำไมถึงต้อง อบรม คปอ.

อบรม คปอ มีความจำเป็นหรือไม่ บทลงโทษของการไม่อบรมมีอะไรบ้าง

คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารและการจัดการความปลอดภัยอาชีวะอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานศักราช 2549 มีการกำหนดจำนวนและสัดส่วนไว้ดังนี้

  • ลูกจ้าง 50 ถึง 99 คนจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าห้าคน
  • ลูกจ้าง 100 ถึง 499 คนจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
  • และลูกจ้าง 500 คนขึ้นไปจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน

 

การได้มาซึ่ง คปอ.

 

การได้มาซึ่ง คปอ

ซึ่งในกรรมการจะต้องมีประธานหนึ่งคนเลขานุการหนึ่งคนและผู้แทนนายจ้างจะต้องน้อยกว่าผู้แทนลูกจ้างอยู่หนึ่งคน วิธีการได้มาซึ่งก่อนหน้าของ คปอนั้นเริ่มจากประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและมีผู้บริหารเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งและกำหนดการเลือกตั้งวันเวลาสถานที่ เลือกตั้งประกาศรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้งซึ่งในกรณีที่ผู้สมัครพอดีกับที่ต้องการและกรรมการเลือกตั้งสามารถแต่งตั้งได้เลยหากมีคนสมัครมากกว่าจำนวนที่กำหนดจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งในสถานประกอบการตัวเองให้พนักงานทั้งโรงงานได้มาเลือก คปอ กันตามชอบ

ด้วยหลักใหญ่ใจความคือ กฎหมายต้องการให้มีตัวแทนฝ่ายลูกจ้างอยู่ในคณะกรรมการขับเคลื่อนและความปลอดภัยในการทำงานทุกครั้งที่มีการประชุมเห็นใจทั้งประกาศผลการเลือกตั้งประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการและผู้บริหารเป็นประธาน จป.วิชาชีพเป็นเลขานุการ และ ให้ผู้บริหารเซ็นแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่เราได้เลือกตั้งแล้วได้ตัวแทนอย่างเป็นทางการเป็นที่เรียบร้อยแล้วสถานประกอบการจะต้องส่ง ต้องพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งอบรม คปอตามที่กฎหมายกำหนดทุกคนหลังจากอบรม คปอเสร็จจะต้องขึ้นทะเบียนคณะกรรมการความปลอดภัยต่อกรมสวัสดิการ และ คุ้มครองแรงงานจังหวัดที่ตั้งของบริษัทซึ่งมีเอกสารดังนี้

  1. สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยทั้งหมด
  2. สำเนาบัตรประชาชนของคณะกรรมการความปลอดภัยทุกๆคน
  3. เอกสารผ่านการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย

คณะกรรมการความปลอดภัยจะมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานความปลอดภัยรายงานและเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยส่งเสริมกิจกรรมความปลอดภัยประเมินผลและติดตามความคืบหน้ารายงานผลการปฎิบัติงานรวมทั้งปฏิบัติด้านความปลอดภัยอื่นๆตามที่นายจ้างมอบหมายหมายคณะกรรมการความปลอดภัยจะมีวาระอยู่ 2 ปีหลังจากการแต่งตั้งหวังว่าจะทำให้ทุกท่านเข้าใจในเรื่องของ คปอ มาก [แหล่งที่มา: sde-c.com]

 

หน้าที่ของ คปอ. ตามกฎหมาย

 

หน้าที่ของ คปอ. ตามกฎหมาย

เมื่อผ่านการอบรม คปอ แล้วจะมีหน้าที่ตามกฎหมายทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้

  1. พิจารณาแผนงานและนโยบายด้านความปลอดภัยทั้งในและนอกงาน เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุต่างๆ
  2. เสนอมาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย
  3. ส่งเสริม และสนับสนุน กิจกรรมในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
  4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมถึงเสนอมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
  5. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย รวมถึงแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง นายจ้าง ผู้บริหาร และหัวหน้างาน รวมถึงบุคลากรทุกระดับ
  6. สำรวจ ตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย เก็บสถิติการประสบอันตรายอย่างน้อยเดือนละครั้ง
  7. รายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และข้อแนะนำ เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม
  8. ติดตามความคืบหน้า เรื่องที่นำเสนอต่อนายจ้าง
  9. รายงานการปฏิบัติงานประจำปี และข้อเสนอแนะต่อนายจ้าง
  10. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  11. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ตามที่นายจ้างมอบหมาย

หลายคนสงสัยว่าการอบรม คปอ. มีระยะเวลาการอบรมเท่าไหร่ สำหรับหลักสูตร คณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน หรือ คปอ. มีระยะเวลาในการอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบไปด้วย 3 หมวดวิชาหลักๆ ได้แก่

หมวดวิชาที่ 1 : การบริหารคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ

หมวดวิชาที่ 2 : กฎหมายด้านความปลอดภัยในการทำงาน

หมวดวิชาที่ 3 : บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงาน

ปัจจุบัน การอบรม คปอ หรือการอบ จป. หลายๆ สถาบันเริ่มหันมาพึ่งเทคโนโลยีมากขึ้นด้วยการจัดอบรมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่ต้องการอบรม หรือ สถานประกอบการที่ต้องการส่งลูกจ้างเข้ารับการอบรม

 

committeeteam

 

สถานประกอบกิจการใด ? ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.)

1.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คนให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย

  1. นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  2. ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 1 คนเป็นกรรมการ
  3. ผู้แทนลูกจ้าง 2 คนเป็นกรรมการ
  4. จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

2.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100-499 คน ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน
ประกอบด้วย

  1. นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  2. ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 2 คนเป็นกรรมการ
  3. ผู้แทนลูกจ้าง 3 คนเป็นกรรมการ
  4. จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

3.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน
ประกอบด้วย

  1. นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  2. ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 4 คนเป็นกรรมการ
  3. ผู้แทนลูกจ้าง 5 คนเป็นกรรมการ
  4. จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

ทีม คปอ.

 

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนดให้กิจการที่ต้องมี คปอ ได้แก่

  1. เหมือง ปิโตรเคมี
  2. โรงงาน คลังสินค้า
  3. การก่อสร้าง ซ่อมบำรุง
  4. โลจิสติกส์
  5. สถานีบริการน้ำมัน
  6. โรงแรม
  7. ห้างสรรพสินค้า
  8. โรงพยาบาล
  9. สถานบันเทิง การกีฬา
  10. สถาบันทางการเงิน
  11. Lab กายภาพ
  12. Lab เคมี ชีวภาพ
  13. กิจการสนับสนุน 1-12
  14. กิจการอื่นๆ ตามประกาศ

 

คณะกรรมการความปลอดภัยฯ มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตราย อุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน ส่งผลให้การประสบอันตรายลดลง และเกิดการร่วมมือของทุกภาคส่วนในองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอย่างจริงจังและยั่งยืน

เว็บไซต์รวมความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ที่คุณสามารถอ่านได้ฟรีและมีการอัปเดตใหม่ ทุกๆวัน!

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by  Staraokhospitality